โครงสร้างการบริหารงานและอำนาจหน้าที่



อำนาจหน้าที่ของโรงเรียนวัดหนองชิ่ม (รัตนวิทยาคาร)
- จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ
- จัดตั้งงบประมาณ และรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณ
- พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- จัดการเรียนการสอน จัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองของผู้เรียน
- ออกระเบียบข้อบังคับต่างๆรวมทั้งระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษา
- กำกับ ติดตาม ประเมินผลงานตาม แผนงานโครงการ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนการพิจารณาความดีความชอบ การพัฒนา และการดำเนินงานทางวินัยกับครูและบุคลากรทางการศึกษา
- ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของโรงเรียน ทั้งที่เป็นราชพัสดุและทรัพย์สินอื่นๆตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
- จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายนอก รวมทั้งการรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชน และสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่นๆในชุมชนและท้องถิ่น
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายใน หรือตามที่ได้รับมอบหมาย และตามที่กฎหมายกำหนดให้
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
- พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545
- พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา 38 (กรรมการสถานศึกษา) มาตรา (อำนาจหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา)
- กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2547 (ออกตาม ม.34 วรรคสี่ ของ พรบ.บริหาร ศธ.)
- กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษา (ออกตามม.39 วรรคสอง พรบ.กศ. แห่งชาติ 2542)
- ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546 (ออกต าม ม.35 พรบ.บริหาร ศธ.)
- กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์วิธีการสรรหากรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546
- ระเบียบ กฎหมายอื่นๆ
บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของ พรบ. การศึกษาแห่งชาติ
- จัดทำนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาด้านวิชาการ บุคคล งบประมาณ บริหารทั่วไป
- จัดตั้ง/รับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณ
- พัฒนาหลักสูตร /จัดการเรียนการสอน
- ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ แนวปฏิบัติ
- กำกับ ติดตามประเมินผลตามแผนงานโครงการ
- ระดมทรัพยากร ปกครอง ดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินฯ
- จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
- ส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน สร้างความสัมพันธ์
บทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ
- จัดรูปแบบการศึกษา ม.15
- จัดกระบวนการศึกษา ม. 24-30
- บริหารจัดการศึกษา 4 ด้าน ม. 39
- เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ม. 40
- จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา ม. 48-50
- ปกครองดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินฯ ม. 59
- พัฒนาบุคลากร นักเรียนด้านเทคโนโลยีฯ ม. 65-66
อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
- ผ่อนผันการส่งเด็กเข้าเรียน ม.6
- เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่
- จัดการศึกษาเด็กบกพร่อง พิการ ด้อยโอกาสในรูปแบบเหมาะสม ม.12
- ดำเนินการอื่นๆ ตามกฎหมายกำหนด
อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ. ระเบียบบริหาร ศธ. 2546 (ม.39)
- เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครู และ บุคลากรในสถานศึกษา
- บริหารกิจการสถานศึกษา
- ประสานระดมทรัพยากร
- เป็นผู้แทนสถานศึกษา
- จัดทำรายงานประจำปีต่อกรรมการเขตพื้นที่
- อนุมัติประกาศนียบัตร วุฒิบัตร
- อื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมอบหมาย
- ตามที่ได้รับการกระจาย มอบอำนาจ (ปฏิบัติราชการแทน) ม.44-45 ปลัดศธ. เลขาฯ ถึงผอ.สถานศึกษา ผอ.สำนักฯในกรม ถึง ผอ.สถานศึกษา ผอ.สพท. ถึง ผอ.สถานศึกษา
อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามกฎ ศธ. แบ่งส่วนราชการในสถานศึกษา 2546
- วิเคราะห์ จัดทำนโยบาย แผนสถานศึกษา
- วางระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ
- เสนอขอจัดตั้งเงินอุดหนุนทั่วไป
- แต่งตั้งอนุกรรมการ คณะทำงานต่างๆ
อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.รบ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
- ควบคุมดูแลการบริหารงานบุคคล ม.27(1)
- พิจารณาความดีความชอบ ม.27(2)
- ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาบุคลากร ม.27(3)
- จัดทำมาตรฐานภาระงานครู ม.27(4)
- ประเมินผลการปฏิบัติงานครู ม.27(5)
- ปฏิบัติหน้าที่ตาม อ.ก.ค.ศ. กก.รร.มอบหมาย ม.27(6)
- สั่งให้ครูฯออกจากราชการกรณีขาดคุณสมบัติ ม.49
- สั่งบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย ครูบุคลากร ม.53(4)
- สั่งครูที่ทดลองปฏิบัติราชการออก ม.56 วรรคสอง
- สั่งให้ครูพ้นทดลองทำงานต่อไป ม.56 วรรคสอง
- สั่งครูที่ออกไปแล้วกลับเข้ามาตาม มติ อ.ก.ค.ศ ม.64
- สั่งให้ครูรักษาการในตำแหน่ง (ตำแหน่งว่าง) ม.68
- สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครู ม.73
- ยกย่องเชิดชูเกียรติครูดีเด่น ม.75
- แจ้งภาระงาน เกณฑ์ประเมินผลงาน มาตรฐานวิชาชีพจรรยาบรรณวิชาชีพ ระเบียบแบบแผนฯ ม.8
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ม.79
- ส่งเสริมสนับสนุนให้ไปศึกษาดูงาน ม.81
- รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด ม.82
- เสริมสร้างพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ม.95 98
- อนุญาต ยับยั้งอนุญาตลาออก ม.108
- สั่งแต่งตั้ง กรรมการสอบสวนกรณีกล่าวหาไม่เลื่อมใสปกครองฯ ม.110 (4)
- สั่งให้ครูออกจากราชการ ในกรณีต่างๆ เช่น เจ็บป่วย ยุบตำแหน่ง ไร้ประสิทธิภาพ จำคุก
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลสังกัด สพท. พ.ศ.2546 กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้
- ผู้อำนวยการฯเป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา
- นิติบุคคลสถานศึกษาถูกฟ้องร้อง ให้รายงาน สพท. แจ้งสพฐ.แต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินคดี
- การบริหารบุคคลตามกฎหมาย พรบ.ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
- ยุบ รวม เลิก โรงเรียน สพท.ตรวจสอบบัญชี ทรัพย์สิน โอน จำหน่ายตามหลักเกณฑ์ สพฐ. กำหนด
- โรงเรียนมีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้ จัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แต่จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน ต้องเห็นชอบ รายงาน สพท.
- โรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณ พัสดุตามวงเงิน อำนาจที่เลขา กพฐ.มอบ หรือ ผอ.สพท.มอบตามหลักเกณฑ์ที่สพฐ.กำหนด ยกเว้นเงินเดือน
- จัดทำระบบการเงิน บัญชี ตามระเบียบ สพฐ.กำหนด และทรัพย์สินฯผู้อุทิศทำหลักฐานการรับบัญชีรับจ่ายฯรายงาน ผอ.สพท.ทุกสิ้นปีงบประมาณ ผอ.สพท.ตรวจสอบและรายงานเลขา กพฐ. โดยเร็ว
อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบ กฎหมายอื่น เช่น
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2548
- กฎกระทรวง ว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนฯ พ.ศ.2548
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ.2547
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ. 2547
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของนักเรียนนักศึกษา 2547
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยใบสุทธิและหนังสือรับรองของสถานศึกษา พ.ศ.2547
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการยกเลิกเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ.2534พ.ศ.2547
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมฯ (ฉ.2) พ.ศ.2547
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
- อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา 38ของ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กําหนดอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา ให้กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา 40 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545
- อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 26 ของพระราชบัญญัติ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้กําหนดอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาเกี่ยวกับ การบริหารบุคคล สําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
- กำกับ ดูแลบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล องกับนโยบาย กฎระเบียบ ข้อบังคับหลักเกณฑ์และ วิธีการตามที่ ก.ค.ศ และ อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษากําหนด
- เสนอความคิดต้องการจำนวนและอัตราตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถาน ศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา
- ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ ในพระราชบัญญัตินี้กฎหมายอื่น หรือตามที่ อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย
กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น พ.ศ. 2547
อาศัยอำนาจตามในมาตรา 8 และมาตรา 34 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อที่ 1 ในกฎกระทรวงนี้
“สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ แต่ละแห่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
“ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น” หมายความว่า หน่วยงานการศึกษาของรัฐ แต่ละแห่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ 2 การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาและส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้เป็นไปตามแนวดังต่อไปนี้
- สอดคล้องกับภารกิจหลักและรองรับการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระทรวงศึกษาธิการ
- มีความเป็นเอกภาพในทางการบริหารจัดการ มีความยืดหยุ่น และพร้อมต่อการปรับเปลี่ยน
- มีกลไกในการประสานงานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
- มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจ ความคุ้มค่า ลดขั้นตอนการบริหาร เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารจัดการ
- คำนึงถึงความสัมพันธ์ เกื้อกูลต่อสัมฤทธิผลของคุณภาพการศึกษา ระดับ และขนาดของสถานศึกษาหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น จำนนวนนักเรียน ผู้รับบริการ และความเหมาะสมด้านอื่น
ข้อ 3 ให้แบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาและส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นกลุ่ม และกลุ่มอาจแบ่งส่วนราชการเป็นกลุ่มงานหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากลุ่มงานได้การกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการตามวรรคหนึ่งต้องสอดคล้องกับแนวทางตามข้อ 2
ข้อ 4 การแบ่งส่วนราชการตามข้อ 3 ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่สถานศึกษาหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นนั้นสังกัด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละเขตพื้นที่การศึกษากำหนด
การแบ่งส่วนราชการ
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษา เช่น ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริหารทั่วไป ฝ่ายกิจการนักเรียน หรือส่วนราชการอื่นตามความเหมาะสม.
- การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละส่วนราชการภายในสถานศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ.
- การบริหารจัดการ กำหนดแนวทางการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนด
- สถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง กฎหมายนี้ใช้บังคับกับสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ความสำคัญของกฎกระทรวงฉบับนี้
- เป็นกรอบในการบริหารจัดการ กฎหมายนี้เป็นกรอบในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วม การแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ จะส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น
- สร้างความโปร่งใส การมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนจะช่วยสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา